การเปิดร้านอาหาร

บริการประชาชน

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ! - Amarin Academy

คำแนะนำการเปิดร้านอาหาร.

     

ทะเบียนพาณิชย์จำเป็นต้องจดหรือไม่? สำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก

เป็นหนึ่งประเด็นคำถามของผู้ประกอบการ และว่าที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร SME ว่าจะเปิดร้านอาหารจำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่
หากยึดตามหลักการความถูกต้องแล้วเมื่อเราเปิดร้านอาหาร หรือ ดำเนินกิจการใด ๆ  ก็ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นการไปจดทะเบียนเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเราได้เริ่มประกอบกิจการอย่างถูกต้องและเปิดเผย มีสถานที่ตั้งเป็นกิจจะลักษณะมีชื่ออยู่ในระบบ
ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์ มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

 

▶️ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา

สำหรับการจดทะเบียนพาณิชย์ ประเภทบุคคลธรรมดา หรือที่ส่วนใหญ่พูดกันว่า ทะเบียนการค้า
ในทางกฎหมายนั้นพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 กำหนดไว้ว่า ให้ผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นบุคคลธรรมดา
ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบการร้านอาหาร

📍 หากร้านมีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ สำนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่
📍 ในต่างจังหวัด ยื่นคำขอที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่ร้านอาหารตั้งอยู่ในท้องที่
มีค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ฉบับละ 50 บาท

เมื่อดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว จะต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานใน ที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
และต้องจัดให้มีป้ายชื่อร้านที่ใช้ในการประกอบพาณิชย์ไว้หน้าร้านและร้านสาขา (ถ้ามี)

ทั้งนี้ กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และ ภ.ง.ด. 90 ในครึ่งปีหลัง
ส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ ไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปี ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจะจดก็ได้
แต่ถ้ามีรายได้เกินทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) นั่นเอง

🚩 เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์(บุคคลธรรมดา)
ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf

 

▶️ การจดทะเบียนพาณิชย์นิติบุคคล

หรือเรียกว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จะมีความซับซ้อนมากกว่าการจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา เนื่องจากต้องดำเนินการ
ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งจะต้องมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
กำหนดทุนที่จะจดทะเบียน และหาผู้ร่วมทุนเข้ามาซื้อหุ้นบริษัท กำหนดมูลค่าหุ้นว่าจะกำหนดกันอย่างไร เช่น ทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท
แบ่งหุ้นออกเป็น 10,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท ส่วนผู้ถือหุ้นคนใดจะถือหุ้นจำนวนเท่าไหร่ก็แล้วแต่ตกลง

📍 ร้านค้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เขต
📍 ส่วนในต่างจังหวัดสามารถยื่นขอจดได้ที่ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัด ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท ขึ้นอยู่ที่จำนวนทุนจดทะเบียน
ซึ่งมีอัตรา 1 แสนละ 50 บาท ขั้นต่ำ 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

🚩 เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์(นิติบุคคล)
ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้ http://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=369

 

ยังไม่จบแค่นี้!
สำหรับการจดทะเบียนพาณิชย์นิติบุคคล
✔️ ต้องมีการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีใบอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีบริษัท
✔️ กรรมการบริษัทมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี จัดทำงบดุลและงบกำไรขาดทุน ในทุก ๆ 6 เดือน ของรอบระยะเวลาบัญชี
โดยมีผู้ตรวจสอบบัญชีให้การรับรองความถูกต้อง และนำส่งงบดุลให้แก่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

เงินกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ จะต้องถูกนำไปคำนวณเพื่อการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
💰 หากขาดทุนหรือกำไรไม่เกิน 3 แสนบาทของรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปี ไม่ต้องเสียภาษี
💰 เกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท เสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์
💰 หากกำไรเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 20 เปอร์เซ็นต์ของเงินกำไร

 

สรุปข้อดีและข้อเสียการจดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดา กับทำในนามนิติบุคคล

  บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
ข้อดี · จัดตั้งง่าย โดยคนๆ เดียว

·  มีอิสระในการตัดสินใจ

·  เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบคนเดียว

·  ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย

·  การเลิกกิจการทำได้ง่าย

·  ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารต่ำ

·  เป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้ถือหุ้น·  ผู้ถือหุ้นรับผิดเท่าที่ลงทุนในหุ้น·  ซื้อ ขายหรือโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นได้

·  ผู้ถือหุ้น ตายหรือขายหุ้น บริษัทก็ยังดำเนินการต่อ

ไปได้ไม่ติดขัด

·  มีความน่าเชื่อถือ กู้ยืมเงินต่อยอดธุรกิจได้ง่าย

·  เสียภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา

ข้อเสีย ·  เจ้าของต้องรับหนี้สินไม่จำกัดจำนวน·  ขาดความน่าเชื่อถือของกิจการ

·  การจัดหาเงินทุนทำได้ยาก

·  การตัดสินใจอยู่ที่คนๆ เดียว ไม่รอบคอบ

·  ธุรกิจอาจไม่ยืนยาว และไม่ต่อเนื่อง

·  เสียเปรียบด้านภาษีอากร

·  พนักงานมีข้อจำกัดด้านความก้าวหน้า

·  ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก·  ค่าใช้จ่ายการบริหารสูง

·  ต้องมีผู้ร่วมลงทุนอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป

·  ต้องมีการจัดทำบัญชีอย่างละเอียด

·  มีข้อบังคับทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก

·  เลิกกิจการทำได้ค่อนข้างยาก


คู่มือทำมาค้าขาย

ข้อมูลดีๆจากlogo-eduma-the-best-lms-wordpress-theme

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น